วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02 23/06/2552

โครงสร้างข้อมูล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆ รวมทั้งกระบวณการในการจัดการข้อมูลในโครงสร้าง เช่น เพิ่ม แก้ไข ลบ
ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
ในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
- เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น Primitive Data Types ได้แก่ จำนวนเต็ม จำนวนจริง และตัวอักขระ
1.2 ข้อมูลโครงสร้าง Structured Data Types ได้แก่ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูล
2.โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ
-เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากการจินตนาการของผู้ใช้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น Linear Data Structures ความสัมพันธ์ของข้อมูลจะเรียงต่อเนื่องกัน เช่น ลิสต์ สแตก คิว สตริง
2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ Non-Linear Data Structures ข้อมูลแต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัวได้แก่ ทรี และกราฟ
การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลัก
-ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะมีการแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลักอยู่ 2 วิธี คือ
1.การแทนที่ข้อมูลแบบ สแตติก Static Memor Representation เป็นการจองเนื้อที่แบบคงที่แน่นอนต้องมีการกำหนดขนาดก่อนการใช้งาน แต่มีข้อเสีย คือไม่สามารถปรับขนาดได้
2.การแทนที่ข้อมูลแบบ ไดนามิก Dynamic Memory Represention เป็นการแทนที่ข้อมูลโดยไม่ต้องจองเนื้อที่ ขนาดของเนื้อที่ยึดหยุ่น โครงสร้างข้อมูลที่มีการแทนที่หน่วยความจำหลักแบบไดนามิก คือ ตัวชี้ หรือ พอยเตอร์ pointer
ขั้นตอนวิธีที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีความถูกต้อง
2. ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด
3. สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
5. มีความยืดหนุ่นในการใช้งาน
6. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
7. ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ขั้นตอนวิธี Algorithm
เป็นภาษาสำหรับเขียนขั้นตอนวิธี มีรูปแบบที่สั้น กระชับและรัดกุมและมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1. ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2. การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3.นิพจน์ที่เป็นการคำนวณ จะมีลำดับขั้นของการคำนวณ ตามลำดับนิพจน์ที่เป็นตรรกศาสตร์ จะใช้เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ คือ= เท่ากับ = ไม่เท่ากับ< น้อยกว่า > มากกว่า≤ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ≥ มากกว่าหรือเท่ากับ
4. ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือgoto เลขที่ขั้นตอน
5. การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำงาน มีรูปแบบดังนี้
- แบบทางเลือกเดียว ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1
- แบบสองทางเลือก ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1
else statement
6. การทำงานแบบซ้ำ
- แบบทดสอบเงื่อนไขที่ต้นวงรอบ มีรูปแบบ ดังนี้while (condition) dostatement
- แบบทำซ้ำด้วยจำนวนครั้งของการทำซ้ำคงที่ มีรูปแบบfor a=b to n by c dostatement
7. คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /
ภาษาธรรมชาติ
ภาษาธรรมชาติ เป็นการเขียนขั้นตอนวิธีโดยใช้ภาษาเขียน จะบอกลำดับขั้นตอนการทำงานตั้งแต่แรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น