วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 10 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 4-7 มกราคม 2554

สัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ บริษัทเพราะต้องช่วยพี่อรรถ พี่ที่เปนผู้ปนะเมินการฝึกงานในครั้งนี้ ซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ และตรวจเช็คอาการ ประมาณ 10 เครื่อง โดยต้องเช็คอุปกรณ์แต่ล่ะชนิด ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอสาเหตุ ผมก็เพิ่งรู้ว่าการซ่อมคอมพิวเตอร์นี้ ไช้เวลาแค่ 1-2 ชม ไม่ได้ บางเครื่อง อาจต้องใช้เวลาเป็น วันๆ เลยทีเดียว เพราะแต่ล่ะเครื่องเราไม่รู้หรอกว่า มันเกิดจากอะไร บางครั้ง บางคราวอาจจะเกิดแค่ปัญหาเล็กน้อย เช่น ไส่พัดลม CPU ไม่แน่น ลืมเสียบสายไฟนิดๆหน่อยๆ จั๊มฟ์ผิดตำแหน่ง ปัญหาอย่างนี้ มันเกิดขึ้นได้ทุกเครื่อง เราต้องรอบคอบ และ ใจเย็นๆ ตรวจเช็คไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเราใจร้อน ด่วนสรุปว่า ตัวนี้เสีย แล้วพอเวลา เอาตัวไหม่มาเปลี่ยนแล้วยังเกิดอาการเหมือนเดิม ก็ทำให้เราต้องสูญเสียเวลาในการ เสนอราคาไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการทำงานกับราชการ ต้องใช้เวลา ต้องมีเอกสารที่แน่ชัด ถึงจะขออนุมัติ เปลี่ยนอุปกรณ์ ที่เสียได้

สัปดาห์ที่ 9 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 27-30 ธันวาคม 2553

สัปดาห์นี้ ได้ออกไปอยู่ประจำที่ กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ไปเรียนรู้งานและคอยช่วยเหลือ พี่ที่บริษัทที่ประจำอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ ทำให้รู้จักกับพี่จอห์น พี่บิ๊ก พี่อาร์ม และพี่บอย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการนี้มีงานเยอะมาก โดยผมได้ติดตามพี่จอห์น โดยพี่จอห์นดูแรกเหมือนเป็นคนเก็บกดมาก แต่พอได้มาคุยสนิทสนมด้วย ก็จากหน้ามือเป็นหลังมือเลย แต่พี่จอห์นเป็นคนขยันมาก ตั้งใจทำงาน รักครอบครัว ไม่ว่าเจอปัญหาอะไรพี่จอห์นจะไม่ยอมแพ้ จะขอแก้ ให้ได้ พี่จอห์นได้สอนวิธีการเช็คอาการต่างๆ เช่น การเช็คว่า Power Supply เสียหรือป่าว การจั๊มพ์ ต่างๆ การจั๊มพ์ ตั้งค่า Harddisk ให้เครื่องไหนเป็น Master เครื่องไหนเป็น Slave การลงโปรแกรมต่างๆอย่างรวดเร็ว พี่จอห์นสอน การเช็คอาการระดับพื้นฐานให้ ส่วนพี่บิ๊ก จะเป็นคนแบ่งงาน เป็นคนคอยพูดคุยกับ User ให้ User เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และแนะนำวิธีการ ส่วนเอกสารการให้บริการ พี่บิ๊กจะเป็นคนตรวจเช็ค ส่วนพี่อาร์มเป็นคนที่ทำงานรวดเร็ว กระชับ ฉับไว ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน พี่จอห์นเป็นคนเฮฮา คุยสนุก ทำให้การทำงานรู้สึกสบายใจ โดยสัปดาห์นี้ได้ซ่อมคอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง พร้อมตรวจเช็คอุปกรณ์ต่อพ่วง

สัปดาห์ที่ 8 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 20-24 ธันวาคม 2553

ในสัปดาห์นี้ พี่ต่ายพี่ที่ปรึกษาได้พาไปประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ศูนย์ราชการ สาขาแจ้งวัฒนะ โดยประกอบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 7 เครื่อง โดยมี CPU Mainboard RAM Harddisk CD-ROM และ ทำการประกอบ โดยมีพี่แอล คอยแนะนำและตอบปัญหาที่ไม่เข้าใจ รวมไปถึงการ โคลน Harddisk โดยพี่แอลได้สอน และให้ลงมือปฏิบัติ การโคลน Harddisk จำเป็นต้องใช้แผ่นโปรแกรม ชื่อว่า แผ่น Hiren Boot ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งเครื่องที่ประกอบนั้น เป็นเครื่องรุ่นไหม่ จะไม่ไช่สาย IDE จะใช้สาย SATA ทำให้ต้องใช้ แผ่น Hiren Boot เวอร์ชั่น 9 ขึ้นไป ถึงจะทำการโคลน Harddisk ได้ เมื่อทำการโคลนเสร็จ ก็ทำการเทรด Harddisk พร้อม อุปกรณ์ตัวอื่นๆ ว่าเมื่อประกอบแล้ว สามารถใช้งานได้จิงหรือไม่ ถ้าใช้งานไม่ได้เป็นเพราะอะไร ลืมเสียบสายอะไรไปรึป่าว

สัปดาห์ที่ 7 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 13-17 ธันวาคม 2553

ในสัปดาห์นี้ได้เดินทางมาทำ PM ที่ศูนย์ราชการ สาขาแจ้งวัฒนะ เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำค้างไว้ เนื่องจากวันและเวลาไม่พอ พี่แอล เป็นคนที่ สนุกสนานเฮฮา ทำให้การทำงานของผมไม่เครียด ไม่กดดัน ไม่เบื่อกับการทำงาน แต่ที่นี่นั้นต้องมีความละเอียดละออ เพราะว่าเป็นสถานที่สำคัญ และมีคนคอยจับตาดูอยู่เสมอ การทำงานต้องรอบคอบ คอมพิวเตอร์แต่ล่ะเครื่อง ต้องดึงสาย USB เม้าส์และคีย์บอร์ด ออก เพื่อป้องกัน ไม่ให้เอกสารของทางราชการเสียหาย การทำงานเป็นอย่างช้า แต่มั่นคง แต่บางห้องก็ไม่สามารถใช้เครื่องดูดฝุ่นได้ เพราะเครื่องดูดฝุ่นมีเสียงดัง รบกวน User บางคน จัดทำได้แค่เพียง ปัดฝุ่น เช็ด และเคาะ เอาเศษกระดาษลูกแม๊ค ออกจากคีย์บอร์ด และทำการ จัดเรียงข้อมูล ในคอมพิวเตอร์ของ User สถานที่พี่แอล และ พี่แดงประจำอยู่นั้นเรียกว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่งของศูนย์ราชการ โดยมีคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องและ เครื่องปริ้นอีก 50 เครื่อง

สัปดาห์ที่ 6 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2553

สัปดาห์นี้ ได้ไปทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM ที่ ศูนย์ราชการ สาขา แจ้งวัฒนะ ได้รู้จักกับพี่ที่บริษัทที่ประจำอยู่ที่นั่น คือ พี่แอล และพี่แดง พวกพี่ๆ ได้พาไปทำ PM ตามห้องต่างๆ โดยมีทั้งหมด 130 เครื่อง ซึ่งศูนย์ราชการนั้นใหญ่มาก และมีการจัดงาน วันพ่อ ที่ยิ่งใหญ่มาก มีการนำสิ่งของและการแสดงต่างๆ ที่อยู่ในโครงการพระราชดำริของในหลวง มีการจัดให้เล่นเกมส์ และตอบคำถาม เกี่ยวกับพระราชวงศ์

สัปดาห์ที่ 5 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2553

สัปดาห์นี้ ผมได้ถูกเลือกให้ออกไป เปิดบูทจัดแสดงสินค้า โดยเดินทางไป มหาลัยเทคโนโลยีพนะจอมเกล้าธนบุรี(บางมด) ได้เดินทางไปกับ พี่ต่ายและพี่ปอนด์ ซึ่งพี่ปอนด์มีความรู้ความสามารถ ในเรื่องเหล่านี้มาก อีกทั้งมีทักษะการพูด การเสนอแนวคิด ที่ชวนให้คล้อยตามอยู่เสมอๆ สินค้าที่นำไปเปิดบูทจัดแสดงสินค้านี้มีชื่อว่า LAB QUEST เป็นอุปกรณ์การเรียน การศึกษา ทางภาควิชาวิทยาศาสตร์ ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ เช่น การวัดความชื้นของดิน ความดังของเสียง ความหนาแน่นของอากาศ ว่าระยะเวลานั้น ตอนนั้น คือเท่าไหร่ และ LAB QUEST เครื่องนี้ สามารถแสดงผลโดยไม่ต้องพ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งมีถึง 8 พอร์ท สามารถที่จะเชื่อมต่อ อุปกรณ์ได้ต่างๆ มากมาย เฉพาะตัวเครื่อง LAB QUEST ตัวเก็บข้อมูลนี้ ราคาอยู่ที่ 25,000 - 30,000 บาท แล้วยังต้องใช้ตัวชาร์ตแบตเตอร์รี่ อีก ราคาอยู่ที่ 2,000 -3,000 บาท ซึ่งต้องใช้คู่กัน แต่ตัวชาร์ตแบตเตอร์รี่นี้สามารถชาร์ตได้ พร้อมกันทีเดียว 4 เครื่อง และเมื่อมีตัว LAB QUEST แล้ว ถ้าไม่มีชุดวัด ก็ไม่สามารถใช้งานได้เหมือนกัน ดังนั้นจำเป็นต้องซื้อชุดวัดค่าแต่ล่ะชุดอีก ซึ่งแต่ล่ะชุดการวัด ก็มีราคาแตกต่างกันออกไป อยู่ที่ราคาประมาณ 1,500 - 5,000 บาท แต่เป็นอุปกรณ์ที่ถือว่าทันสมัยมาก เหมาะการศึกษา ซึ่งปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศไทย ก็ได้สั่งซื้อ ไปบ้างแล้ว

สัปดาห์ที่ 4 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2553

ในสัปดาห์นี้ พวกเราได้รู้จักพี่ต่าย ซื้อเป็นพี่ที่คอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำ และคอยควบคุม ซึ่งพี่ต่ายเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมาก สนุกสนาน เฮฮา ทำให้การทำงานนั้นไม่เครียด ไม่กดดัน ทำให้ผลงานที่ได้ออกมาดี มีคุณภาพ และในสัปดาห์นี้ พี่ต่ายก็พาไปทำการ PM ที่ กรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ (กพร.) ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับ กระทรวงศึกษา และพี่ที่ประจำอยู่ที่นั่น ชื่อ พี่จิม พี่จิมก็เป็นคนพาไป ขออนุญาติพนักงานข้าราชการที่ประจำอยู่แต่ล่ะห้อง จากนั้นก็ลงมือทำการ PM แต่ที่ กพร. จะทำ PM ได้ยากมาก เพราะว่า ต้องยกเครื่องออกจากห้อง แล้วไปทำการ เป่าฝุ่น ที่ทางบันไดหนีไฟ อีกทั้งยังต้องถอดฝาเครื่องออกมาด้วย เพราะทาง User ที่นั่น แจ้งความจำนงมา การทำ PM ที่ กพร. ทำได้ลำบากมาก แต่ก็ได้พี่ๆ คอยช่วยเหลือ พูดคุย ทำให้หายเหนื่อย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ กพร. นั้น มีทั้งหมดจำนวน 110 เครื่อง

สัปดาห์ที่ 3 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2553

สัปดาห์นี้ นั้นเป็นการทำ PM หรือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ที่สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ สาขา (บ้านราชวิถี) ได้รู้จักกับพี่ที่บริษัทส่งไปประจำที่นั่น ชื่อพี่ปอนด์ และพี่ปอนด์ได้พาไปทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน พร้อมทั้ง ลง Font ชื่อสารบัญ ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้ในราชการ และทำการบริการ User โดยการลงโปรแกรมที่ User ต้องการและแจ้งความจำนงมา อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาที่ User แจ้งมาด้วย จากนั้นทำการ จัดเรียงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของ User ทุกเครื่อง เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น โดยที่นั่นมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำนวน 300 เครื่อง และเครื่องปริ้นเตอร์อีก จำนวน 250 เครื่อง ทำให้ใช้เวลาในการทำงานนานมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2553

สัปดาห์นี้ เป็นการปฎิบัติงาน โดยการทำ Preventive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน) โดยสัปดาห์นี้จะเป็นการทำ PM ที่ สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ สาขา(โบ๊เบ๊) โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา คือ แปรงปัด ผ้าเช็ดคนละ 1 ผืน น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ทุกชนิด และที่ขาดไม่ได้ก็คือเครื่องดูดฝุ่น เพราะ เมื่อทำการปัดฝุ่นแล้วจำเป็นต้องดูดฝุ่นทันที่ เพื่อไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ไปรบกวน พนักงานข้าราชการ ที่กำลังทำงานอยู่ในห้องๆ นั้น โดยที่สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สาขา(โบ๊เบ๊) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดโดยประมาณ 240 เครื่อง และเครื่องปริ้นเตอร์อีกจำนวน 150 เครื่อง

สัปดาห์ที่ 1 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2553

สัปดาห์แรกของการทำงาน เริ่มจากการศึกษาการทำงานของบริษัทว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีบริษัทในเครือ 3 บริษัท คือ
1.บริษัท ซิมส์คอมพิวเตอร์ จำกัด
2.บริษัท สยามอินเตอร์ จำกัด
3.บริษัท 21Engineer จำกัด
การทำงานของบริษัททำงานเกี่ยวกับการดูแลและรักษาระบบ เครือข่าย ในสัดส่วนสถานที่ราชการ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ ศูนย์ราชการ(แจ้งวัฒนะ)
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทางบริษัททำหน้าที่บริการให้แก่ User ที่ทำงานในสถานที่ดังกล่าว